เกี่ยวกับเรา

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

ศูนย์นวัตกรรมวิทยาการอาหาร ม.เกษตรศาสตร์ จัดตั้งขึ้นเพื่อขยายศักยภาพของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการให้บริการด้านนวัตกรรมและการสร้างองค์ความรู้ให้กับอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ รวมทั้งการให้คำปรึกษาทางวิชาการ และเป็น technical arm แก่ภาครัฐและเอกชน KU-FIRST ดำเนินการโดยสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร และคณะอุตสาหกรรมเกษตร เป็นแกนหลักร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อปรับโครงสร้างการบริหารองค์ความรู้จาก KU Food เป็น KU-FIRST ในการบูรณาการองค์ความรู้ด้านอาหารให้เกิดเป็น cluster for food value chain from farm to table อย่างแท้จริง โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้

  • บูรณาการงานวิจัยและพัฒนางานด้านอุตสาหกรรมอาหารและสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่อง
  • บ่มเพาะและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหาร
  • เป็นแหล่งความรู้และบริการทางวิชาการด้านอุตสาหกรรมอาหาร
  • สร้างและพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านอุตสาหกรรมอาหาร
  • สร้างเครือข่ายวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารกับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน

บริการประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร

  • บริการตรวจวิเคราะห์ทดสอบทางด้านเคมี
  • บริการตรวจวิเคราะห์ทดสอบทางด้านกายภาพ
  • บริการตรวจวิเคราะห์ทดสอบทางด้านจุลชีววิทยา
  • บริการตรวจวิเคราะห์เพื่อขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร
  • บริการตรวจวิเคราะห์เพื่อจัดทำฉลากโภชนาการ
  • บริการทดสอบการกระจายความร้อนในหม้อฆ่าเชื้อ
  • บริการทดสอบทางชีวภาพด้านโภชนาการและพิษวิทยาอาหาร
  • บริการกำหนดกระบวนการให้ความร้อนในการฆ่าเชื้อ

บริการสารสนเทศทางอาหาร

  • การสืบค้นเอกสารสิทธิบัตรนานาชาติ
  • การทำแผนที่สิทธิบัตรเพื่อหาแนวโน้มของเทคโนโลยี
  • การหาช่องว่างของเทคโนโลยี
  • การใช้ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์เทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม

บริการทดสอบตลาดและทดสอบทางประสาทสัมผัสสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่

  • บริการทดสอบผู้บริโภค
  • บริการทดสอบความแตกต่าง
  • บริการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสเชิงพรรณนา
  • บริการคัดเลือกและฝึกฝนผู้ประเมินสำหรับการทดสอบความแตกต่างและทดสอบเชิงพรรณนา
  • บริการฝึกอบรมเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสทั้งในและนอกสถานที่

บริการอบรมบุคลากรด้านอุตสาหกรรมอาหาร

  • การฝึกอบรมภายนอกสถานที่ โดยจัดหลักสูตรตามความต้องการของผู้ประกอบการ
  • การฝึกอบรมภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วยหลักสูตรประจำ
  • HACCP
  • เทคนิคการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
  • การประเมินอายุการเก็บของผลิตภัณฑ์อาหาร
  • บรรจุภัณฑ์เพื่อถนอมอาหาร
  • การฝึกอบรมปฏิบัติการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่

บริการวิจัยและที่ปรึกษา

  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
  • การพัฒนาเครื่องจักรเพื่อการแปรรูป
  • การจัดการเทคโนโลยีการผลิตอาหารระดับอุตสาหกรรม
  • การแก้ไขปัญหาและปรับปรุงระบบการผลิต
  • การปรับปรุงระบบการตรวจสอบคุณภาพ
  • การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์

งานพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตอาหาร

  • งานพัฒนาเครื่องจักรกลผลิตอาหาร เช่น เครื่องอบแห้งแบบลูกกลิ้งใช้ไฟฟ้า เครื่องย่างและขึ้นรูปขนมลูกเต๋า เครื่องทอดและสลัดน้ำมันภายใต้สภาวะสุญญากาศ เป็นต้น
  • งานพัฒนาเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพอาหาร เช่น เครื่องมือวัดและทดสอบบรรจุภัณฑ์ เครื่องมือวัดและทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุการเกษตรและอาหาร เครื่องตรวจสอบความผิดปกติของนมบรรจุกล่องแบบไม่ทำลาย โปรแกรมทำนายค่า F o สำหรับการฆ่าเชื้ออาหารในภาชนะบรรจุปิดสนิท เป็นต้น
  • งานพัฒนากระบวนการและเทคโนโลยีการผลิต เช่น กรรมวิธีการผลิตเส้นขนมจีนกึ่งสำเร็จรูป กรรมวิธีการผลิตข้าวเคลือบที่มีกลิ่นหอมเพิ่มคุณค่าทางอาหาร และทนต่อการเสื่อมสภาพ กรรมวิธีการผลิตเส้นขนมจีบแห้งกึ่งสำเร็จรูปคืนรูปเร็ว กรรมวิธีการผลิตมะนาวผง กะทิเทียม และกระบวนการผลิตกะทิเทียม เป็นต้น
  • งานพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น บรรจุภัณฑ์ฉลาด ผลิตภัณฑ์ข้าวหุงสุกเร็ว ผลิตภัณฑ์อาหารอัดพอง ผลิตภัณฑ์บรรจุกระป๋องและภาชนะบรรจุอ่อนตัว เป็นต้น

กลุ่มวิจัยเฉพาะทาง

การศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยกลุ่มวิจัยภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยังผลให้เราสามารถนำองค์ความรู้พื้นฐานมาใช้ในการประยุกต์ พัฒนา และปรับปรุงเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารอย่างไม่หยุดยั้ง ความชำนาญของกลุ่มวิจัยเฉพาะทางของหน่วยงานในศูนย์ KU-FIRST ได้แก่

  • Food Safety
  • Rice and Starches
  • Fishery Products
  • Health and Functional Foods
  • Sensory Evaluation and Consumer Research
  • Packaging for Food and Agricultural Products
  • Probiotics and Prebiotics
  • Freshness Preservation of Food Products
  • Food and Biomaterial Innovation Flavor Chemistry and Applications
  • Process Modeling and Simulation
  • School of Wine . Beer and Distilled Beverages
  • Product Innovation and Technology management

การให้คำปรึกษาเชิงธุรกิจทางด้านเทคนิคและการจัดการ เพื่อให้มีการจัดตั้งและการดำเนินธุรกิจอาหารขนาดกลางและขนาดย่อมที่สามารถคงอยู่ภายใต้สภาวะการแข่งขันในปัจจุบัน โดย KU-BIC จะให้บริการบ่มเพาะธุรกิจในรูปแบบของการจัดฝึกอบรมและบริการที่ปรึกษาทางวิชาการด้านเทคนิค การบริหารจัดการ การตลาด บัญชี และกฎหมาย เพื่อให้ผู้ประกอบการมีทักษะในการจัดทำแผนธุรกิจและดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ KU-BIC ยังเป็นกลไกในการเชื่อมโยงผลการวิจัยและนวัตกรรมด้านอาหารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับภาคธุรกิจเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ KU-BIC ยังให้บริการเสริมอื่น ๆ สำหรับธุรกิจจัดตั้งที่สนใจจะ start-up ภายหลังการจัดทำแผนธุรกิจ เช่น start-up fund บริการตรวจวิเคราะห์ บริการผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบเพื่อทดสอบตลาด เพื่อให้ธุรกิจที่ได้รับการบ่มเพาะโดย KU-BIC สามารถ spin-off เป็นบริษัทที่เข้มแข็งต่อไป

  • คณะกรรมการประจำศูนย์นวัตกรรม
  • โครงสร้างของหน่วยงาน